Powered By Blogger

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เรียนบรรณารักษ์จบไปทำอะไร

“เรียนบรรณารักษ์ จบไปทำอะไร จัดชั้นหนังสือ อยู่ในห้องสมุดหรือ?” เพื่อนผู้หนึ่ง ถามด้วยความงงโง่พาซื่อ เมื่อข้าพเจ้าบอกว่าเรียนในสาขานั้น ข้าพเจ้าจึงพยายามตอบด้วยน้ำเสียงอันเปี่ยมด้วยเมตตา ให้เสมือนว่าได้ข่มโทสะจริตเอาไว้อย่างมิดชิดว่า
“ถ้าแค่จัดชั้น ไม่ต้องเรียนจบ ป.ตรีก็ได้หรอก จบม.3ก็ทำได้”
คำถามและข้อสงสัยในเชิงว่าเรียนบรรณารักษ์นี้จบไปแล้วจะไปทำอะไรนั้นเป็นคำถามสุดยอดคลาสสิคมาแต่ไหนแต่ไร ซึ่งหากจะตอบให้คลาสสิคก็ต้องตอบว่า
“เรียนบรรณฯ ก็ต้องเป็นบรรณารักษ์สิ ถามได้!!”
เหมือนเรียนหมอ ก็ต้องเป็นหมอ วิศวก็ต้องเป็นวิศว พยาบาลก็ต้องเป็นพยาบาล แต่นั่นเป็นการตอบพอให้หายรำคาญผ่านๆไปเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว เรียนบรรณารักษ์ สามารถทำงานได้หลากหลาย กว้างขวางมากมาย เลยทีเดียว
ในยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆเสียด้วย บางครั้งก็มีคุณภาพ บางทีก็ด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจ แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อุปมาดังปลาในสระใหญ่ ที่คนไม่มีคนทำอวน ทำแห มาทอดจับไปขาย ฉันใดก็ฉันนั้น บรรณารักษ์(Librarian)และนักสารสนเทศ(Information Specialist) ก็คือชาวประมงผู้ชาญฉลาด มีเครื่องมือคือแห อวนอันทรงอานุภาพ จับปลาเหล่านั้นมาขาย แล้วไม่ใช่ขายธรรมดา ต้องสามารถจำแนกปลาแต่ละประเภท ได้อีกด้วย เพื่อให้เหมาะกับลูกค้าที่จะมาซื้อหาไปทำการอื่นใดต่อไป
โลกปัจจุบันและตลาดงานปัจจุบัน ยังขาดคนเหล่านี้อยู่มาก ทางรัฐบาลเองก็ส่งเสริมการสร้างแหล่งเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ขนานใหญ่ แล้วใครเล่าใครจะไปทำงาน ถ้าไม่ใช่ผู้ที่จบในสาขาเหล่านี้
บรรณารักษศาสตร์ , บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ , สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์ จะชื่อใดก็ตาม ล้วนแต่มีกำเนิดและมีเนื้อหาหลักวิชาตรงกันทั้งสิ้น คือการสร้าง นักวิชาชีพ หรือ มืออาชีพ ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ การนำออกมาใช้ การให้บริการ ซึ่งงานลักษณะนี้ สาขาวิชาชีพอื่นๆไม่สามารถจะทำแทนกันได้ ต้องเป็นผู้ที่จบในศาสตร์เหล่านี้จริงๆเท่านั้น
ดังนั้นหน้าที่จริงๆของบรรณารักษ์จึงไม่ใช่การจัดชั้นหนังสือ แต่เป็นการจัดการให้หนังสือแต่ละเล่มอยู่อย่างเป็นระบบในห้องสมุด โดยการวิเคราะห์และกำหนดสัญลักษณ์ คือเลขหมู่ให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันอยู่ด้วยกัน สร้างเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหนังสือที่ตัวเองต้องการได้ เช่นการค้นจากคอมพิวเตอร์ และให้บริการตอบคำถาม แก่ผู้ใช้ที่สงสัยเกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆ
วิชาในหลักสูตรนี้ จะมีทั้งวิชาด้านการวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดการสารสนเทศประเภทต่างๆเป็นวิชาหลัก เพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะว่าสารสนเทศเนื้อหาแบบใดควรจะจัดการย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ใช้ และวิชาด้านเทคนิคต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันต้องเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ทั้งการทำเว็บไซต์ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ฯลฯ รวมถึงวิชาด้านการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการอีกด้วย
ด้วยเนื้อหาวิชาลักษณะนี้ผู้ที่จบออกไปจึงสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือได้หลากหลาย ดังนั้นเราจึงพบว่า ผู้ที่จบบรรณารักษ์ สามารถไปทำงานเป็น นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆได้ หรือจะเรียกให้โก้ๆก็ต้องเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กร ต่างๆ มีหลายๆคนก็ไปเป็นนักข่าว , ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา , เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่วไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทอง ก็เป็นร้านทองIT จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ฯ ก็คือการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานลักษณะต่างๆได้อย่างหลากหลายนั่นเองอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานมาก โดยเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ฯ เนื่องจากคนสนใจน้อยแต่ความต้องการ และการพัฒนาห้องสมุดมีมากนั่นเอง คราวนี้มีมหาวิทยาลัยใดบ้างล่ะที่เปิดสอน ในปัจจุบัน หลักสูตรในสาขาด้านนี้ มีอยู่หลายมหาวิทยาลัยและมีชื่อเรียกขานต่างกัน อาจจะแบ่งได้ดังนี้
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์หรือ สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ เช่น คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร, คณะศิลปศาสตร์ มธ. , คณะมนุษยศาสตร์ มศว., คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ ฯลฯ สาขาสารสนเทศศาสตร์ เช่น คณะมนุษยศาสตร์ฯ มข., คณะมนุษศาสตร์ มช., คณะสารสนเทศศาสตร์ ม.มหาสารคาม, คณะมนุษยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์, คณะเทคโนโลยีสังคม ม.เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ สาขาสารนิเทศศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ซึ่งทั้งหมดล้วนมีรากเหง้าที่มาจาก สาขาบรรณารักษ์ทั้งสิ้น คณาจารย์ส่วนใหญ่ จะสังกัดภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และจบด้านบรรณารักษศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากระดับปริญญาตรีแล้ว ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เอก ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย
เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณาอย่าคิดว่า จบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีก ไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด หุๆๆ

ที่มาhttp://www.board.esanupdate.com/index.php/topic,2326.0.html

จริยธรรมในวิชาชีพคอมพิวเตอร์

ความหมายของจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้
ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก
ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์
มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศ และเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่รวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรม
ต่าง ๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน และหน่วยงานงานธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใน 2-3 ปีข้างหน้าความก้าวหน้า
ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จะมีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร เครือข่ายไร้สาย
และเครือข่ายเคลื่อนที่ ตลอดจนเทคโนโลยีหุ่น
มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้นำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยอำนวย
ความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต หรือแม้แต่การช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการเก็บกู้ระเบิด
และการผ่าตัดรักษาโรค
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม หากพิจารณาอีกด้านหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็อาจ
จะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในการการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม
ในแต่ละประเทศจึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดจริยธรรม
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น

1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความรำราญ

2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล

3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

4. การละเมิดลิขสิทธิ์

ที่มา : http://www.deecrub.ob.tc/page02_01.htm

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Ten Rules for the New Librarians

Ten Rules for the New Librarians

ได้พูดถึง ข้อปฏิบัติ 10 ข้อเพื่อการเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่

ไม่อยากจะเชื่อว่าเขียนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (Michael on June 30, 2006)

ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่มีดังนี้

1. Ask questions (ตั้งคำถาม)

- ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ อย่าให้คนสัมภาษณ์ถามเราอย่างเดียว บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะต้องรู้เรื่องของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีมากน้อยเพียงใด และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร

2. Pay attention (เอาใจใส่)

- แล้วก็เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย

3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)

- บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด

4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)

- เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มันมีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ

5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)

- ตรงๆ เลยก็คือการนำเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริหารในห้องสมุด หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library 2.0 ตัวอย่างของการเอาเครื่องมือด้าน 2.0 ลองอ่านจากบทความ “10 วิธีที่ห้องสมุดนำ RSS ไปใช้

6. Work and Play (ทำงานกับเล่น)

- อธิบายง่ายๆ ว่าทำงานอย่างมีความสุข บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดอะไรกันภายในห้องสมุดก็ได้

7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)

- บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน้นทำนี่ ฉันไม่มีเวลาหรอกจริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าไม่มีเวลาหรอกครับ แต่เพราะว่าเขาไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)

- ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย)

9. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)

- อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง

10. Remember the Big Picture (จดจำภาพใหญ่)

- ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช้รูปภาพนะครับแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ อุดมการณ์บรรณารักษ์ จรรยาบรรณและสิ่งต่างๆ ที่จะช่วยเราให้คิดถึงความเป็นบรรณารักษ์


ที่มา http://projectlib.wordpress.com/2008/03/25/10-rules-for-next-generation-librarian/

โรงเรียนรุ่งอรุ่ณ

การจัดการความรู้ในโรงเรียนรุ่งอรุณ
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช (20 พ.ค.48)

เมื่อวันที่ 11 พ.ค.48 ผมไปประชุมใหญ่ประจำปีของมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ มูลนิธินี้มี
ศ.นพ. ประเวศ วะสี เป็นประธานกรรมการ
ตัวโรงเรียนมี รศ. ประภาภัทร นิยม เป็นผู้อำนวยการ นอกจากโรงเรียนแล้วทางมูลนิธิกำลังก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษา ชื่อว่า สถาบันอาศรมศิลป์ ผมฟังรายงานกิจกรรมทั้งของโรงเรียนและของสถาบันก็ถึงบางอ้อ ว่าคนกลุ่มนี้กำลังดำเนินการจัดการความรู้อย่างขะมักเขม้นและสภาพขององค์กรเป็นองค์กรเรียนรู้อย่างชัดเจน เรามีองค์กรเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นตัวอย่างอีก 1 แห่งแล้วนะครับ โรงเรียนอื่น ๆ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เน้นที่การ สอนละเลยการเรียนหรือไม่จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนไม่ออกแบบการเรียน นี่คือจุดอ่อนในวงการศึกษา ที่ รร.รุ่งอรุณและสถาบันอาศรมศิลป์ภายใต้การนำของ รศ.ประภาภัทร เข้ามา ทดลองปิดช่องว่างนี้ให้แก่สังคมไทย ผมใช้คำว่า ทดลองก็เพราะทีมงานของ ร.ร.รุ่งอรุณ และสถาบันอาศรมศิลป์มีท่าที สงสัยหรือ ตื่นตัว เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผมจะลองตีความว่า ร.ร. รุ่งอรุณ และสถาบันอาศรมศิลป์ออกแบบการเรียนรู้อย่างไร บางท่านอาจเรียกว่าทำวิจัยก็ได้

(1) ครูร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ของนักเรียน
การเรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษาจะไม่เหมือนกัน ที่จริงผมเดาว่าลึก ๆ แล้วมีส่วนที่เหมือนมากกว่าไม่เหมือน ส่วนที่เหมือนคือสาระ ส่วนที่ต่างคือวิธีการ การที่ครูทุกคนต้องร่วมกันออกแบบการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นทีม ๆ นี้ มองในมุมหนึ่งก็คือ Team Learning นั่นเอง เรียนการเรียนรู้ของทีมครู โดยอาศัยการปฏิบัติงานประจำของตน คือทำให้การปฏิบัติงานประจำเป็นการเรียนรู้ ผมได้ยินมาว่าตอนตั้ง รร. รุ่งอรุณใหม่ ๆ ครูทนไม่ไหว ลาออกไปหลายคน แต่ตอนนี้ครูมีทักษะนี้แล้ว กลายเป็นสภาพการทำงานที่สนุก เพราะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญคือช่วยกันคิด ท่านที่ต้องการเห็นร่องรอยการออกแบบการเรียนรู้ของนักเรียนต้องไปอ่านเอกสารเผยแพร่ของ รร. รุ่งอรุณ ที่ทำออกมาเป็นระยะ ๆ หรือต้องไปสัมผัสโดยตรงจะยิ่งดี

(2) เรียนรู้ทั้งจากตำราและจากของจริง เหตุการณ์จริง เอกสาร
บทสรุปการดำเนินงานกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ โครงการร่วมมือ...สานฝัน...อันดามัน...ฟื้น ระหว่างเดือนมกราคม พฤษภาคม 2548 มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณผสานกับคำอธิบายของ รศ. ประภาภัทร ทำให้ผมเห็นว่า ร.ร.รุ่งอรุณและสถาบันอาศรมศิลป์ใช้การเข้าไปดำเนินการ ร่วมมือ สานฝันกับผู้ประสบภัยสึนามิเป็น ห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้จากสภาพชีวิตจริงของผู้คน โดยเฉพาะผู้คนที่ประสบความทุกข์ยากจากภัยพิบัติ เมื่อเข้าไปเรียนแล้วก็ถ่ายทอด Tacit knowledge ของแต่ละคนออกมาเป็นบันทึก มีการรวบรวมสรุป นำมาร่วมกันตีความและต่อยอดความรู้อย่างต่อเนื่อง เท่ากับเป็นการหา กิจกรรมให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน

(3) เรียนรู้จากทุกกิจกรรมที่ตนดำเนินการ
อาศรมครูรุ่งอรุณ (
Teacher Training Centre) ซึ่งผมแนะนำให้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น Teacher Learning Centre เพื่อให้ตรงกับสิ่งที่ทำอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกระบวนทัศน์ใหม่ ว่าการพัฒนาบุคลากรขององค์กรควรใช้ learning mode ไม่ใช่ training mode ความมีชื่อเสียงของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบรุ่งอรุณ ทำให้หลายโรงเรียนมาดูงานและต้องการฝึกฝนวิธีการเพื่อนำไปปฏิบัติในโรงเรียนของตน ที่น่าสนใจที่สุดคือเทศบาลนครขอนแก่น ผู้บริหารตั้งแต่นายกเทศมนตรีลงมา มีความเอาจริงเอาจังในการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน 11 แห่งในสังกัดมาก และศรัทธาในวิธีการแบบรุ่งอรุณ ถึงขนาดมีการลงนามในสัญญาความร่วมมือจัดการฝึกอบรมครูในสังกัด โดยสถาบันอาศรมศิลป์ให้บริการการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ในกิจกรรมนี้อาจารย์ของสถาบันก็สั่งสมความรู้และประสบการณ์ในการให้บริการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครู รศ. ประภาภัทรกล่าวว่ากิจกรรมนี้เป็นแหล่งรายได้ที่ดีช่องทางหนึ่งของสถาบันฯ และเป็นกิจกรรมที่ทำให้อาจารย์ของสถาบันเกิดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

(4) มีการจดบันทึก สำหรับเก็บไว้ใช้งานต่อ
กรณีอาศรมครูรุ่งอรุณมีเอกสารกองทุนอบรมสัมมนาจดบันทึก tacit knowledge ที่เกิดขึ้นจากการอบรม คือจดไว้ในรูปของคำพูดของคนที่ผ่านเหตุการณ์มา ทีมงานของมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณดูจะเก่งเป็นพิเศษในการจัดการ ความรู้แบบฝังลึกนี้ โรงเรียนรุ่งอรุณจัดการความรู้ลึกมาก โดยจุดสำคัญคือจัดการความรู้ไว้ใช้เอง ไว้พัฒนากิจการของตนเอง ผลที่เห็นคือผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนมีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีการต่อยอดความรู้จากนักเรียนรุ่นก่อน ๆ

(5) มีการนำความรู้กลับมาใช้ใหม่ การรีไซเคิลความรู้
ทำให้ทั้งครูและนักเรียนของโรงเรียนรุ่งอรุณและอาศรมศิลป์เก่งขึ้นเรื่อย ๆ มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการ ต่อยอดจากทั้งความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง และจากประสบการณ์ของคนอื่น

ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช 13 พ.ค.48
จาก เว็บไซต์ http://blog-for-thai-km.blogspot.com/2005/05/blog-post_20.htmlหรือ www.kmi.or.th ของ สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม